Last updated: 21 ต.ค. 2565 | 346 จำนวนผู้เข้าชม |
ปุ๋ยอินทรีย์ (Organic Fertilizer) คือ ปุ๋ยที่ได้จากการย่อยสลายอินทรีย์วัตถุทางชีวเคมีโดยจุลินทรีย์กลุ่มใช้ออกซิเจน (Aerobic Microorganisms) จนเป็นประโยชน์ต่อพืช
เป็นปุ๋ยทำจากวัสดุอินทรีย์ มีธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์สำหรับการเจริญเติบโตของพืช ผลิตจากวัสดุอินทรีย์ ของเสียจากโรงงาน(บางประเภท) มูลวัว มูลไก่ มูลค้างคาว ซากต้นไม้ ใบไม้ กรดอะมิโน โดโลไมท์ และแร่ธาตุต่าง ๆ นำมาบด เติมจุลินทรีย์ บ่มหมัก กลับกอง จนย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย
ปุ๋ยอินทรีย์ที่ดี จะต้องประกอบด้วยแร่ธาตุครบทั้ง 13 ชนิดที่พืชต้องการ ดังนี้
แร่ธาตุหลัก ซึ่งพืชต้องการในปริมาณสูงมาก ประกอบด้วย
- ไนโตรเจน (N)
- ฟอสฟอรัส (P)
- โพแทสเซียม (K)หรือ N-P-K นั่นเอง
แร่ธาตุรอง ซึ่งพืชต้องการในปริมาณน้อย ประกอบด้วย
- แคลเซียม (Ca)
- แมกนีเซียม (Mg)
- กำมะถัน (S)
แร่ธาตุเสริม ซึ่งพืชต้องการในปริมาณที่น้อยมาก (แต่ขาดไม่ได้) ประกอบด้วย
- เหล็ก (Fe)
- แมงกานีส (Mn)
- โบรอน (B)
- โมลิบดินัม (Mo)
- ทองแดง (Cu)
- สังกะสี (Zn)
- คลอรีน (Cl)
ข้อเด่นของปุ๋ยอินทรีย์ที่เหนือกว่าปุ๋ยเคมี คือ ปุ๋ยอินทรีย์มีอินทรีย์วัตถุ มีธาตุอาหารรอง และจุลธาตุที่จำเป็นต่อจุลินทรีย์ดินและพืช ที่ปุ๋ยเคมีไม่มี นอกจากนี้ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ยังทำให้ดินมีสภาพเป็นกลาง ในขณะที่การใช้ปุ๋ยเคมีอย่างยาวนานจะทำให้ดินมีสภาพเป็นกรดซึ่งมีผลทำให้มีการละลายแร่ธาตุที่ไม่พึงประสงค์ออกมาให้แก่รากพืช เช่น อะลูมิเนียม ทำให้พืชมีลักษณะแคระแกร็นและเป็นโรคง่าย ปุ๋ยอินทรีย์ยังเพิ่มจำนวนจุลอินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ และสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติ ทำให้ดินมีโครงสร้างโปร่ง ร่วนซุย อ่อนนุ่มอุ่มน้ำ
แหล่งที่มา : th.wikipedia.org/wiki/ปุ๋ยอินทรีย์
11 ส.ค. 2565